วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

8 เทคนิคหางานให้ได้อย่างใจ

      คงมีหลายครั้งที่คุณนึก อยากเปลี่ยนงาน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากแต่การหางานที่ดีกว่าเดิม งานที่คุณทำแล้วมีความสุข หรืองานที่เหมาะกับคุณจริง ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะยากจนเกินไป แค่ว่าต้องมีการเตรียมพร้อมกันเล็กน้อยก่อนจะเริ่มหางานใหม่ที่คุณต้องการ

หากคุณกำลังคิดถึงเรื่องการเปลี่ยนงานอยู่ละก็ คุณควรแจกแจงดูก่อนว่าคุณมีปัญหาอะไรบ้างกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และควรดูให้มั่นใจว่าปัญหาเหล่านั้นคุณไม่สามาถที่จะแก้ไขได้จริง ๆ 
ก่อนที่จะตัดสินใจลาออก คุยกับเจ้านายดูก่อน นั่นก็เพราะว่า บริษัทที่มีความก้าวหน้ามักรู้ดีว่าพนักงานที่มีความมุงมั่นในชีวิตนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของบริษัท ซึ่งหมายถึงว่า เจ้านายของคุณอาจจะยอมอ่อนข้อมางอนง้อให้คุณอยู่ทำงานที่เดิมต่อไป หากว่าเขารู้ความต้องการที่แท้จริงของคุณ

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีหนทางไหนที่จะทำให้คุณรู้สึกมีความสุขกับการทำงานที่นั่นแล้วละก็ คงถึงเวลาที่คุณจะมองหางานใหม่ และนี่คือ กลเม็ด 8 ข้อ ซึ่งจะช่วยให้การเปลี่ยนงานของคุณราบรื่น เหมือนกับโรยด้วยกลีบกุหลาบ 

1. รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
วิเคราะห์เจาะลึกถึงความรู้ความสามารถ และทักษะทุกอย่างที่ตัวเองมี จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่าน ๆ มา เรื่องนี้นับว่าสำคัญมาก เพราะมันจะทำให้คุณรู้ว่างานแบบไหนที่จะเหมาะกับความเป็นคุณมากที่สุด เมื่อรู้แล้วก็คิดดูอีกทีว่า ทักษะไหนที่คุณมี และสามารถนำไปใช้ในงานใหม่ได้บ้าง หาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง 
ทีนี้คุณจะได้รู้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบแบบไหนกันแน่ที่ทำแล้วจะมีความสุขที่สุด 

2. เตรียมใจกับเงินเดือนที่ (อาจจะ) ลดลง
บางครั้งการได้งานใหม่ที่จ่ายงามกว่าเดิมไม่ได้หมายความว่ามันจะทำให้คุณมีความสุขจริง ๆ เพราะมันอาจจะเป็นงานที่คุณไม่ได้รักที่จะทำสักเท่าไหร่
หากคุณเป็นหนึ่งในประเด็นที่เรากล่าวถึง เตรียมใจไว้กับการที่อาจจะต้องรับเงินเดือนต่ำลงกว่าเดิม หากงานที่คุณอยากทำจริง ๆ ไม่ได้ทำรายได้ดีนัก 
ลองมองในอีกแง่ว่า การที่คุณมีความสุขกับการทำงานมีคุณค่ากว่าเงินทองเป็นไหน ๆ และยิ่งคุณมีความสุขเท่าไหร่ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในงาน ก็จะมีมากเท่านั้น ..แล้วอย่างนี้ เงินทองที่ว่าจะไปไหนเสีย

3. หาข้อมูลของสายงานที่คุณสนใจ
สมัยนี้แหล่งข้อมูลนั้นมีมากมายทั้งนิตยสาร, หนังสือพิมพ์ แถมด้วยอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยให้คุณได้รู้รายละเอียดของสายงานที่สนใจ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อให้แน่ใจว่า งานที่คุณคิดว่าเหมาะกับคุณนั้น เป็นงานที่ใช่จริง ๆ หรือเปล่า

4. สร้างสายสัมพันธ์ในสายงาน
ลองนึกดูสิว่าในสายงานที่คุณสนใจ มีใครที่คุณเข้าไปคุยด้วยได้บ้าง เพื่อน, ญาติพี่น้อง, หรือคนที่เคยรู้จักจากหน้าที่การงาน ฯลฯ หาโอกาสไปพูดคุยกับคนเหล่านี้ ถามพวกเขาถึงความรู้ความสามารถที่ต้องมีในสายงาน หากไม่รู้จักใครเลย การเข้าร่วมในชมรม, สมาคม หรือแม้กระทั่งเว็บบอร์ดของคนในสายงานนั้น ๆ ก็เป็นไอเดียที่ดีที่อาจทำให้คุณได้พบปะสนิทสนมกับคนในแวดวง อย่างน้อย ๆ ก็เพื่อให้มีแบ็คกราวน์ติดตัวพอน่าเชื่อถือ 

5. หาทางเชื่อมสัมพันธ์กับบริษัทในฝัน
แม้ว่างานที่คุณสนใจอาจจะยังไม่ได้เปิดรับสมัคร ก็ไม่เสียหลาย หากคุณจะเริ่มทำความรู้จักกับบริษัทที่คุณหมายตาไว้ก่อน อาจจะด้วยวิธีเข้าไป สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสนใจ หรือกิจการของบริษัทนั้น ๆ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงยามที่คุณมาสมัครงานนั้น ๆ เข้าจริง ๆ พวกเขาจะรู้สึกคุ้นเคยกับคุณ และเชื่อมั่นว่าคุณสนใจในงานนั้นจริง ๆ และนั่นจะทำให้คุณมีภาษีดีกว่าผู้สมัครรายอื่น ๆ 

6. สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานชั่วคราว หรือขอฝึกงานฟรี ๆ ไปเลย
วิธีนี้จะทำให้คุณได้สัมผัสกับงานหลากหลายรูปแบบ รวมถึงได้เรียนรู้ถึงการทำงานในองค์กรที่แตกต่างกันทั้งสไตล์การทำงาน, ขนาดของบริษัท และบรรยากาศในที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้คุณรู้ได้ในทันทีว่างานแบบไหนที่เหมาะกับคุณ ก่อนที่จะถลำตัวเข้าไปเซ็นสัญญาทำงานแบบจริง ๆ จัง ๆ 

7. สร้างเสริมในส่วนที่ขาด
ถามตัวเองดูอีกทีว่า มีสิ่งไหนที่คุณยังขาดสำหรับการทำงานในสายงานที่ชอบ หาวิธีชดเชยแก้ไขหากคุณคิดว่ามันจำเป็นจริง ๆ อาจจะด้วยการเรียนเพิ่มเติมในคอร์สเร่งรัดสั้น ๆ หรือฝึกฝนด้วยตนเองหากทำได้ 

8. เน้นจุดเด่นให้ต้องตากรรมการ
หากคุณรู้ว่าทักษะไหนในงานที่เจ้านายใหม่ของคุณมองหาอยู่ และเป็นสิ่งที่คุณมีอยู่แล้วละก็ เน้นตรงจุดนั้นในจดหมายสมัครงานไปเลย 
การที่คุณไม่มีประสบการณ์ในสายงานนั้น ๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีคุณสมบัติในการทำงานดังกล่าว ใครจะรู้ คุณสมบัติที่คุณมีในงานเดิม อาจจะช่วยเสริมส่งให้ทำงานใหม่ได้ดียิ่งขึ้นก็ได้ 
ดังนั้น ..ไม่ว่าคุณจะมีทักษะอะไร อย่าละเลยเพราะเห็นว่าไม่สำคัญ หรือไม่เกี่ยวกับสายงานเป็นอันขาด

ยังมีงานอีกมากมายรอคุณอยู่ข้างนอก เพียงแต่คุณต้องตั้งความหวังในสิ่งที่เป็นไปได้ และเชื่อว่าคุณจะทำได้จริง ๆ จำไว้ว่าคนเรามีทักษะ และพรสวรรค์ไม่เหมือนกัน ดังนั้นอย่าตัดสินใจเลือกสายงานตามคนอื่น ..แต่จงเลือกในสิ่งที่คุณเป็น แล้วคุณจะได้งานที่เหมาะกับคุณจริง ๆ 

ที่มา:http://www.jobroads.net/article/ViewArticle.asp?ID=334

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการตอบการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ



       วันนี้เราจะมาดูกันว่าปกติแล้วเวลาสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ เค้าจะถามอะไรกันบ้าง พร้อมแนวทางการตอบคำถามคร่าๆกัน พร้อมกับเล่าประสบการณ์ในการสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติชาวอังกฤษสามคนกับคนไทยหนึ่งคนที่เป็นพนักงานฝ่าย HR ตอนแรกเค้าจะเมล์มานัดเวลากับเราพร้อมกฏการเข้าบริษัทแห่งนั้น หลังจากนั้นเราก็ดูว่าสะดวกไปไหม ถ้าไม่ติดก็เราก็ไปบริษัทตามเวลานั้นๆ ถ้าติดก็สามารถเมล์กลับไปบอกเค้าได้  พอถึงเวลาเค้าจะให้รอหน้าห้องสัมภาษณ์ จากนั้นเค้าจะเค้าไปกันก่อนพักนีงเพื่อเตรียมตัวและอ่านประวัติคร่าวๆ วันนี้จะนำเสนอแนวการตอบคำถามยิดฮิตในการสัมภาษณ์งานแบบสำหรับเป็นบทท่องจำถ้าเค้าให้เราพูดไปเรื่อยๆเกี่ยวกับตัวเอง
        My name is ชื่อนามสกุล. I'm อายุ old  I'm graduate from มหาวิทยาลัย in สาขาที่จบมา with เกรด. In university, I learned to try to to things that I never might do before. I had an excellent probability to be told regarding life, the activities of life, meet new friends, and lots a lot of alternative things than I will say. My most significant qualifications is sweet attention and patience or something like after I begin to try to to something i'll proceed till the duty is finished and I'm progression. I will get in conjunction with anybody. In future, I'd wish to have an honest job that brings a stable financial gain, have security, a family and be able to do some treats that individuals will bear in mind Pine Tree State by.To decide to apply job to your company because  a result of this company encompasses a smart image of stability and security. It’s like after you wish to travel on a ship, actually you'd opt for a ship that you just feel assured  with. i actually appreciate the prospect to possess Associate in Nursing interview with you these days. give thanks  you most. 
แปลไทยก็จะได้ความประมาณว่า

       ฉับชื่อ"ชื่อนามสกุล" อายุ อายุปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย"มหาวิทยาลัย"ในสาขา"สาขาที่จบมา"ด้วยเกรด"เกรด" ในขณะเรียนมหาวิทยาลัย ฉันได้รู้จักและได้พยายามทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ได้โอกาสเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตจริงๆ ได้ทำงานต่าง ๆ ได้พบเพื่อนใหม่ ๆ และยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่คงบรรยายได้ไม่หมด สำหรับคุณสมบัติที่สำคัญของฉัน คือ ความตั้งใจและความอดทนหรืออีกตัวอย่างของความตั้งใจและความอดทน ของฉันคือ เมื่อได้เริ่มทำงานบางอย่างจะลงมือทำมันจนเสร็จสิ้น และยังเป็นคนเข้ากับคนง่าย สามารถเข้ากันได้กับคนทุกรูปแบบ งานอดิเรกคือการเล่นอินเทอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ เพราะมีความรู้มากมายอยู่ในนั้น ในอนาคตอยากมีมีงานดี ๆ ที่รายได้แน่นอน และมีความมั่นคงในชีวิต มีครอบครัว และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ผู้อื่นได้จดจำ ที่เลือกมาสมัครงานกับบริษัทนี้เพราะบริษัทนี้มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความมั่นคง และความปลอดภัย เหมือนกับถ้าคนเราจะลงเรือสักลำ ก็คงต้องเลือกเดินทางไปกับเรือที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจขอบคุณสำหรับโอกาสในการสัมภาษณ์วันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กรอกใบสมัครภาษาอังกฤษ



              จากการเปิดเสรีอาเซียน ทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมกับการใช้ภาษาอังกฤษ หลายๆบริษัทเริ่มเปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาบังคับ การสมัครงานก็เลยเกิดความยากขึ้นมา แค่ใบสมัครงานก็กลับกลายเป็นภาษาอังกฤษไปเสียแล้ว ไอ้เราคนไทยภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่ไหน แถมบ้านเมืองก็ไม่เคยถูกใครมาครอบครอง รักษาเอกราชจากฝรั้งได้ตลอด แล้วอยู่ๆจะเขียนภาษาอังกฤษเนี่ยนะ? แค่เขียนชื่อตัวได้ก็ยากแล้วววว วันนี้เลยขอมาแนะนำวิธีการเขียนใบสมัครอย่างง่ายๆกัน
·         มองผ่านๆ มองดูว่าเค้าให้เรากรอกอะไรบ้าง เค้าเรียงวันเดือนปีหรือปีดเดือนวัน หรือเดือนวันปี (เคยไปที่ๆนึงไม่ขอกล่าว พลาดกรอกวันกับเดือนสลับกัน ดีว่าวันเกิดกับเดือนเกิดเลขเดียวกัน) อีกที่ที่สำคัญก็ชื่อกับนามสกุล ให้กรอกแยกหรือกรอกรวม บางคนไม่ดูให้ดีเห็นที่เหลือก็รีบๆเขียน พอขยับไปอีกหน่อย อ้าวนามสกุลเขียนตรงนี้นี่น่า = = ลบคนอ่านเค้าก็จะรู้ว่าเรานั้นสะเพร่าไม่อ่านอะไรให้ละอียด สักแต่เขียนๆ
·         เขียนข้อมูลให้ดูน่าสนใจ สะอาดเรียบร้อย อ่านง่าย ทำให้คนอ่านเค้าอยากพบเจอหน้าตา
·         ก่อนมาสมัครงานควรคิดคำตอบเผื่อคำถามที่นิยมกันไว้ด้วย เช่น คุณคิดว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนตรงไหนบ้าง เขียนให้ดูดี แต่ไม่เสแสร้ง

·         หลายคนตกม้าตายกับ Mr. , Mrs., Miss., Ms. เลยขอแนะนำกันหน่อย
o   MR สำหรับผู้ชาย (มีอันเดียวง่ายมาก แต่เคยเห็นคนเข้าใจผิดใช้ MRS กัน ไม่ใช่นะ)
o   MISS สำหรับสาวที่ยังไม่แต่งงาน
o   MRS สำหรับสาวที่แต่งงานแล้ว
o   MS สำหรับสาวที่ไม่รู้ว่าแต่งงาแล้วหรือยังไม่แต่ง
·         การเขียนชื่อและนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษ ครวเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
·         ที่อยู่ควรเขียนให้ละเอียด อย่าลืมศึกษาที่อยู่ของตัวเป็นเป็นภาษาอังกฤษไว้ล่วงหน้าเพื่อความถูกต้องในการกรอกข้อมูล
o    ที่อยู่ปัจจุบันจะใช้ Home Address / Present Residence
o   แต่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านจะใช้  Permanent Address
·         สถานภาพสมรส หลายคนไม่ทราบว่าจะต้องกรอกอะไรถึงจะถูก ส่วนมากจะรู้ว่า single คืออะไรเลยขอแนะนำคำอื่นกันบ้าง
o   Single (โสด)
Married (แต่งงานแล้ว)
o   Widowed (เป็นหม้าย)
o   Married with no children (แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร)
o   Divorced (หย่า) Separated (แยกทางกัน)
·         ศัพท์อื่นๆสำหรับกรอกประวัติส่วนตัว
o    Birthdate (วัน/เดือน/ปีเกิด) เช่น Jan 1, 1989
o    Birthplace / Native Place (สถานที่เกิด) ให้เขียนชื่อจังหวัดที่เกิด เช่น Bangkok
o    ID No. (เลขประจำตัวบัตรประชาชน) เช่น 1 2345 67890 12 3 ทั้ง 13 หลัก
o    Issued at (สถานที่ออกบัตร) เช่น  Chatujak, Bangkok
o    Date Issued / Dated (วันที่ออกบัตร) เช่น Jan 12 2008
o    Expiry date / Valid Until (วันที่บัตรหมดอายุ) เช่น Jan 12 1998
o    Religion (ศาสนา) เช่น Buddhism (พุทธ) / Islam (อิสลาม)/ Catholic(คอทอลิก) / Protestant (โปรแตสแตนซ์)
o    Taxpayers No. (หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี)
Social Security No. (เลขประจำตัวบัตรประกันสังคม)

·         สถานภาพทางการทหาร (Military Status)
o   Serving เป็นทหารเกณฑ์
o   Completed ผ่านการเกณฑ์ทหาร
o   Exempted ยกเว้นเพราะ ร.ด.จบหลักสูตร ,จับฉลากได้ใบดำ ,ร่างกายไม่ได้ขนาด หรือกำลังเป็นนักศึกษา
o   State your military service No Military Service Obligation  พ้นภาระทางทหาร

·         ประวัติการศึกษา
o    ประถมศึกษา (Primary)
o    มัธยมศึกษา (Secondary)
o    อาชีวะ (Vocational)
o    วิชาชีพ (Technical)
o    วิทยาลัย (College)
o    มหาวิทยาลัย (University)
·         วุฒิการศึกษา
o    มัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Certificate)
o    ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค  (Certificate of Technical Vocation)
o    ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) (Certificate of Vocational Education หรือ Vocational Certificate)
o    ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (Diploma หรือ High vocational Certificate)
o    ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ (Bachelor of Science)
o    ปริญญาตรีด้านบัญชี (Bachelor of Accountancy)
o    ปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ (Bachelor of Engineering)
o    ปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมศาสตร์ (Bachelor of Industrial Technology)
o    ปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ (Bachelor of Business Administration)
o    หลังคุณวุฒิการศึกษาควรที่จะใส่สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาโดยเติมคำว่า in หรืออยู่ในวงเล็บ และ
ตามด้วยสาขาวิชา เช่น
- Auto Mechanics ช่างยนต์
- Machine Shop Mechanics ช่างกลโรงงาน
- Civil Engineering วิศวกรรมโยธา
- Electronics Technology ช่างอิเล็กทรอนิกส์
- Accounting การบัญชี
- Marketing การตลาด
- Finance and Banking การเงินและการธนาคาร
- Computer Science วิทยาการคอมพิวเตอร์
- Industrial Engineering วิศวกรรมอุตสาหการ
o    ควรกรอกวุฒิการศึกษาสูงสุดก่อนไล่ลงมาต่ำสุดเสมอ

·         การกรอกความสามารถพิเศษ
o    ความสามารถทางภาษา ภาษาต่างประเทศ
- English ภาษาอังกฤษ
- Japanese ภาษาญี่ปุ่น
- Chinese ภาษาจีน
o    Computer repair and knowledge of software
ซ่อมคอมพิวเตอร์และมีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์
o    Knowledge of setting up computer networks
มีความรู้ในการติดตั้งข่ายงานคอมพิวเตอร์
o    Knowledge of CAD and computer systems
มีความรู้ในการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
o    Able to write program with BASIC, C language
สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเบลิคและภาษาซี
o    Machine design or equipment making
การออกแบบเครื่องจักรกลหรือการสร้างอุปกรณ์
o    Practical ability to operate PC and other OA equipment
มีความสามารถเชิงปฏิบัติในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ
o    Ability in troubleshooting, modification and maintenance for electronics measurement equipment
มีความสามารถในการตรวจซ่อม การดัดแปร และการบำรุงรักษาอุปกรณ์การวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
o    Working knowledge of computers using spreadsheets and data bases.
มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้แผ่นตารางทำการและฐานข้อมูล
·         ประสบการณ์การทำงาน (Experience)
o    ตำแหน่งที่ทำงาน (Position) เช่น
- Technician นายช่างเทคนิค
- Foreman หัวหน้าควบคุมงาน
- Junior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ผู้ช่วย)
- Senior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ระดับสูง)
- Supervisor ผู้ควบคุมงาน
- Engineer วิศวกร
- Assistant Engineer ผู้ช่วยวิศวกร
- Inspector ผู้ตรวจสอบ
- Manager ผู้จัดการ
o     เหตุผลที่ลาออก (Reason for Leaving) เช่น
- No Progress
- Limited career opportunity ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
- Company Discontinued บริษัทเลิกกิจการ
- Unsuitable Position ตำแหน่งไม่เหมาะสม
- Contract Terminated สิ้นสุดสัญญา
- Further Study
- To get higher education หรือ Continue Education เพื่อศึกษาต่อ
- Military Service เพื่อเข้าเป็นทหาร
- Needed Better Job ต้องการงานที่ดีกว่า
- Company Loss บริษัทขาดทุน
- Company Reduced Manpower บริษัทลดพนักงาน
- Temporary Employ เป็นงานชั่วคราว